เมนู

จิต เกิดแต่กายกับวาจามิใช่เถิดแต่จิต เกิด
แต่วาจากับจิต มิใช่เกิดแต่กาย เกิดแต่กาย
วาจาจิต 3 สถานจึงมีสมุฏฐาน 4 ไม่ซ้ำกัน.

อนนุญาตสมุฏฐาน จบ

[840] ก็สมุฏฐาน 13 ทรงแสดง
ไว้ดีแล้วโดยย่อ ๆ เป็นเหตุทำความไม่หลง
อนุโลมแก่ธรรมที่เป็นแบบ วิญญูชนเมื่อทรง
จำสมุฏฐานนี้ไว้ได้ ย่อมไม่หลงในสมุฏฐาน
แล.

ย่อหัวข้อสมุฏฐาน จบ

สมุฏฐานสีส วัณณนา


ก็แลวินิจฉัยในสมุฏฐานกถา อันเป็นอันดับแห่งโสฬสมหาวารนั้น
พึงทราบดังนี้:-
คาถาว่า อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา มีความว่า บัญญัติคือนิพพาน
ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา. (เมื่อดวงจันทร์ คือ พระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น
เมื่อดวงอาทิตย์ คือ พระพุทธเจ้ายังไม่อุทัยขึ้นมา).
บทว่า สภาคธมฺมานํ ได้แก่ สังขตธรรมที่มีส่วนเสมอกันด้วยอาการ
มีอาการคือไม่เที่ยงเป็นต้น.

ข้อว่า นามมตฺตํ น ญายติ มีความว่า แม้เพียงแต่ชื่อ (แห่ง
สังขตธรรมเหล่านั้น) ย่อมไม่ปรากฏ.
บทว่า ทุกฺขหานึ ได้แก่ บำบัดทุกข์เสีย.
บาทคาถาว่า ขนฺธกา ยา จ มาติกา มีความว่า ขันธกะทั้งหลาย
และมาติกาเหล่าใด. อนึ่ง บาลีก็เหมือนกันนี้.
บาทคาถาว่า สมุฏฺฐานนิยโต กตํ มีความว่า สมุฏฐานที่ท่านทำ
ให้เป็นของแน่นอน คือ จัดไว้เป็นหลักที่แน่ ชื่อว่า นิยตสมุฏฐาน.
การสงเคราะห์ 3 สิกขาบท คือ ภูตาโรจนสิกขาบท โจรีวุฏฐาปน-
สิกขาบท และอนนุญญาตสิกขาบท ด้วยคำว่า สมุฏฺฐานนยโต กตํ นั่น
อันบัณฑิตพึงพิจารณา.
จริงอยู่ 3 สิกขาบทนี้เท่านั้น เป็นนิยตสมุฏฐาน คือ เป็นสมุฏฐาน
ที่ไม่เจือปนกับสมุฏฐานเหล่าอื่น.
บาทคาถาว่า สมฺเภทนิทานญฺจญฺญํ มีความว่า ความเจือปนกัน
และเหตุแม้อื่น, บัณฑิตพึงพิจารณา การถือเอาความเจือปนกันแห่งสมุฏฐาน
ใน 2 คำนั้น ด้วยคำว่า สัมเภท. จริงอยู่ เว้น 3 สิกขาบทนั้นเสีย สิกขาบท
ที่เหลือ จัดเป็นสัมภินนสมุฏฐาน. บัณฑิตพึงตรวจดูนิทาน กล่าวคือประเทศ
ที่บัญญัติ แห่งสิกขาบททั้งหลายด้วยคำว่า นิทาน.
บาทคาถาว่า สุตฺเต ทิสฺสนฺติ อุปริ มีความว่า 3 ส่วนนี้ คือ
สมุฏฐานนิยม สัมเภท นิทาน แห่งสิกขาบททั้งหลาย ย่อมเห็นได้ คือ ย่อม
ปรากฏในสูตรเท่านั้น.

บรรดาสมุฏฐานนิยม สัมเภท และนิทานนั้น สมุฏฐานนิยมและ
สัมเภท ในปุริมนัยก่อน ย่อมปรากฏในคำว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง
คือกายกับจิต เป็นอาทิ. ส่วนนอกจากนี้ ชื่อนิทาน ย่อมปรากฏในเบื้องหน้า
อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว ในกรุงเวสาลี ในกรุงราชคฤห์
ในกรุงสาวัตถี ในเมืองอาฬวี ในกรุงโกสัมพี ในแคว้นสักกะทั้งหลาย และใน
แคว้นภัคคะทั้งหลาย. บัณฑิตพึงทราบว่า คำนี้จักปรากฏในละครซึ่งมาข้างหน้า
เนื้อความแห่งคาถาว่า วิภงฺเค ทฺวีสุ เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้:-
ในวันอุโบสถ ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมสวดสิกขาบทใด อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ในวิภังค์ทั้ง 2, ข้าพเจ้าจักกล่าวสมุฏฐานตาม
สมควรแก่สิกขาบทนั้น; ท่านทั้งหลายจงฟังคำนั้นของข้าพเจ้า.
บทว่า สญฺจริตฺตานุภาสญฺจ ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบทและสมนุ-
ภาสนสิกขาบท.
สองบทว่า อติเรกกญฺจ จีวรํ ได้แก่ อติเรกจีวรสิกขาบท อธิบายว่า
กฐินสิกขาบท.
สองบทว่า โลมานิ ปทโสธมฺโม ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบททั้งหลาย
และปทโสธัมมสิกขาบท.
บทว่า ภูตสํวิธาเนน จ ได้แก่ ภูตาโรจนสิกขาบท และการ
ชักชวนเดินทางไกล.
บทว่า เถยฺยเทสนโจรญฺจ ได้แก่ เถยยสัตถสิกขาบท การแสดง
ธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ และโจรีวุฏฐาปนสิกขาบท.
สองบทว่า อนนุญฺญาตาย เตรส มีความว่า สมุฏฐานเหล่านี้
รวมกับการบวชสตรีที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต จึงเป็นสมุฏฐาน 13.

บาทคาถาว่า สทิสา อิธ ทิสฺสเร มีความว่า ในอุภโตวิภังค์นี้
สมุฏฐานทั้งหลายที่คล้ายกัน แม้เหล่าอื่น ย่อมปรากฏ ในสมุฏฐานอันหนึ่ง ๆ
ในบรรดาสมุฏฐาน 13 เหล่านี้.

[ว่าด้วยปฐมปาราชิกสมุฏฐาน]


บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เมถุนํ สุกฺกสํสคฺโค เป็นต้น เพื่อแสดง
สมุฏฐานเหล่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมถุนํ พึงทราบก่อน. สมุฏฐานใหญ่
อันหนึ่ง ชื่อว่าปฐมปาราชิก. สมุฏฐานที่เหลือ คล้ายกับปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกฺกสํสคฺโค ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสมุฏฐาน
และกายสังสัคคสมุฏฐาน.
บาทคาถาว่า อนิยตา ปฐมิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ 1.
บาทคาถาว่า ปุพฺพูปปริปาจิตา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า ชานํ
ปุพฺพูปคตํ ภิกฺขุํ
และภิกขุนีปริปาจิตปิณฑปาตสิกขาบท
บาทคาถาว่า รโห ภิกฺขุนิยา สหํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการนั่ง
ในที่ลับกับภิกษุณี.
บาทคาถาว่า สโภชเน รโห เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วย
การนั่งแทรกแซง ในสโภชนสกุล และรโหนิสัชชสิกขาบททั้ง 2.
บาทคาถา องฺคุลิ อุทเก หสํ ได้แก่ อังคุลีปโฏทกสิกขาบท
และอุทเกหัสสธัมมสิกขาบท.